
นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะทำงานบูรณาการการให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ณ สนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมืองให้มีประสิทธิภาพสูงสุดว่า
เศรษฐศาสตร์ ที่ประชุมเห็นชอบการปฏิบัติงานของคณะทำงานฯ ทั้งระยะเร่งด่วน (ภายใน 15 วันทำการ) ระยะปานกลาง และระยะยั่งยืน โดยตั้งศูนย์ Single Command Center ติดตามสถานการณ์และกำกับดูแลการบริหารจัดการผู้โดยสารในช่วงที่มีผู้ใช้บริการหนาแน่นทุกกระบวนการให้คล่องตัว ตั้งแต่จุดตรวจหนังสือเดินทาง รับสัมภาระผู้โดยสาร กระบวนการทางศุลกากร และระบบขนส่งเชื่อมต่อท่าอากาศยาน เช่น แท็กซี่ รถโดยสารสาธารณะให้เพียงพอด้านนายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. กล่าวว่า ปัญหาระยะสั้นที่จำเป็นต้องเร่งดำเนินการ คือ การขนส่งกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสารโดยผู้ประกอบการภาคพื้นที่เป็นเอาต์ซอร์ซของสายการบินที่ล่าช้ามาก ทอท. จึงได้ผ่อนผันชั่วคราวจนถึงวันที่ 31 มี.ค.66 ให้สายการบินสามารถบริการตัวเองได้ จากปัจจุบันที่มีผู้ประกอบการเพียง 2 ราย ที่สนามบินสุวรรณภูมิ และเร่งเพิ่มผู้ประกอบการรายที่ 3 ให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน คาดว่า จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบได้ในเดือน ธ.ค.นี้ส่วนปัญหาขาดแคลนรถโดยสารสาธารณะยอมรับว่าขาดแคลนจริง จากเดิมก่อนโควิดระบาด มีรถโดยสารสาธารณะลงทะเบียนที่สุวรรณภูมิ 4,500 คัน แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 2,000 คัน ส่วนที่สนามบินดอนเมือง จากเดิมลงทะเบียน 12,000 คัน
ล่าสุดเหลือ 2,600 คัน ซึ่งกระทรวงคมนาคมมอบหมายให้คณะทำงานฯ เพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้ผู้โดยสาร
เศรษฐศาสตร์ นำรถโดยสารที่ถูกต้องตามกฎหมายอื่น“ทอท.กำลังศึกษาการเพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้ผู้โดยสาร โดยการนำ Grab Taxi (ป้ายเหลือง) มาให้บริการ ส่วนระยะปานกลาง และยาว จะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้พัฒนาการให้บริการของ ทอท.ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยล่าสุดได้พัฒนาโครงการเดิมภายใต้ชื่อ Digital Platform เป็นระบบประมวลผลอัจฉริยะกลางภายใต้โครงการ AOT Intelligent Automata ซึ่งได้เริ่มทยอยเปิดให้บริการแล้วในตารางฤดูกาลบินฤดูหนาว ผ่าน Sawasdee by AOT Application โดยจะเพิ่มฟังก์ชันการให้บริการต่างๆ อย่างมากภายใน 2-3 เดือนข้างหน้านี้
แนะนำเศรษฐศาสตร์ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : คลังเล็งเพิ่มเงินสมทบประกันสังคม